อาการอ่อนแรงของใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหน้าเบี้ยวนั้น สาเหตุที่พบบ่อยมักเป็นจากการบาดเจ็บ หรือการอักเสบของเส้นประสาทสมองที่7 อาการส่วนใหญ่จะมีกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่งแบบเฉียบพลัน หากพบว่ามีอาการทั้งใบหน้าซีกซ้ายและขวานั้นพบได้น้อยและให้นึกถึงโรคอื่น ๆ ทางระบบประสาทไว้ก่อน เช่นกลุ่มอาการอักเสบระบบประสาทส่วนปลายกิลแลง-บาร์เร(Guillan Barre Syndrome) เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เป็นเส้นประสาทชนิดผสมที่ทำหน้าที่นำกระแสประสาทระบบสั่งการ ระบบรับความรู้สึก และระบบอัตโนมัติ ภาวะปกติจึงทำหน้าที่ในการหดตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า ช่วยในการแสดงออกทางสีหน้า ทำหน้าที่ในการรับรสบริเวณ 2/3 ของลิ้นส่วนหน้า และเกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำตา และน้ำลาย การอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เชื่อว่าสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสHerpez simplex ซึ่งผู้ป่วยประมาณ 60% อาจรู้สึกว่ามีอาการไข้ ปวดหน้าหู จากการติดเชื้อไวรัสมาก่อนได้ มีอาการใบหน้าเบี้ยว แสบตาจากหลับตาไม่สนิท ควบคุมริมฝีปากไม่ได้ทำให้ทานน้ำแล้วไหลออกทางปาก อาจพบว่ามีการรับรสที่ผิดปกติไป น้ำตาแห้ง หรือน้ำตาไหลมากเกินไปโดยไม่มีอาการอ่อนแรงของแขนขา โรคนี้พบได้ทุกช่วงวัย เพศหญิงและชายพบได้พอ ๆ กัน โดยส่วนใหญ่เมื่อเป็นแล้วไม่ค่อยมีอาการซ้ำ มีประมาณ 2-9% ที่เมื่อหายแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้ การที่ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงใบหน้าทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่กลัวว่าจะเป็นอาการอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง การพบอาการใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าเบี้ยว จากการอักเสบเฉพาะเส้นประสาทสมองที่ 7 นั้นจะไม่พบอาการอ่อนแรงของแขนขาร่วมด้วย ใบหน้าด้านที่อ่อนแรงจะได้รับผลกระทบทั้งใบหน้าตั้งแต่การย่นหน้าผาก ยักคิ้ว หลับตา ย่นจมูก ยิ้ม ยิงฟัน ส่วนอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าของโรคหลอดเลือดสมองมักพบอาการอ่อนแรงของแขนขาร่วมด้วย และมีอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งล่างเป็นหลัก โดยที่ การขยับของหน้าผาก คิ้ว การหลับตา กระพริบตายังทำงานได้ปกติ แต่เนื่องจากบางครั้งการแยกภาวะดังกล่าวทำได้ยาก และโรคหลอดเลือดสมองถือเป็นโรคเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาให้ทันท่วงที เมื่อพบว่ามีอาการดังกล่าว แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัย […]
Author Archives: นพ.เฉลิมพล ชีวีวัฒน์
เชื่อได้ว่าหลาย ๆ คนต้องเคยประสบกับปัญหาอาการปวดศีรษะ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ซึ่งส่วนมากรับประทานยาลดปวดก็มักจะดีขึ้น แต่คงมีอีกไม่น้อยที่พบว่าอาการปวดศีรษะแต่ละครั้งเมื่อเป็นแล้วมีอาการรุนแรงจนรบกวนการทำงาน การดำรงชีวิต หรือมีอาการปวดศีรษะเป็นซ้ำบ่อย ๆ จนรบกวนคุณภาพชีวิต อาการปวดศีรษะนั้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยอย่างหนึ่งในคนทั่วไป และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาล ดังนั้นการวินิจฉัยสาเหตุที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญในการวางแผนและให้การรักษา อาการปวดศีรษะส่วนมากมักเป็นอาการปวดที่ไม่พบพยาธิสภาพ หรือรอยโรคในสมอง ส่วนน้อยจะพบว่ามีโรคของสมองร่วมด้วย เช่น เส้นเลือดในสมองแตก, ก้อนในสมอง เป็นต้น อาการปวดศีรษะชนิดแรกที่ไม่พบรอยโรคในสมองนั้น โรคที่เราพบได้บ่อย ๆ คือ อาการปวดศีรษะไมเกรน (Migrain)และอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียด(Tension type headache) ไมเกรน(Migrain) เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้บ่อยในช่วงอายุประมาณ 25-55 ปี แต่ก็สามารถพบในช่วงอายุอื่นได้ อาการปวดชนิดนี้ส่วนมากเกิดจากเนื้อสมองถูกกระตุ้นได้ง่าย ทำให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทไปกระตุ้นการควบคุมหลอดเลือดและปฏิกิริยาการอักเสบ เมื่อได้รับการกระตุ้นแล้วทำให้เส้นเลือดในเยื้อหุ้มสมองมีการขยายตัว ร่วมกับการอักเสบไปกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดในหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะไมเกรนมีพบใน 2 ลักษณะคือ แบบที่มีอาการนำ(Aura) เป็นแบบที่ให้การวินิจฉัยง่ายกว่าเนื่องจากมีอาการนำ และอาการที่ชัดเจน โดยส่วนใหญ่อาการนำดังกล่าวจะเป็นอาการทางตา เช่น เห็นแสง เห็นภาพเบลอ กลัวแสง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการทางหู การรับความรู้สึก การเคลื่อนไหว การพูดได้แต่พบได้น้อย แบบที่ไม่มีอาการนำ อาการปวดมักเป็นลักษณะ ปวดศีรษะข้างเดียว แต่พบว่าอาจปวดทั้งศีรษะได้แต่จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวนำมาก่อน ลักษณะอาการปวดเป็นแบบตุ๊บ […]
กลุ่มอาการพังพืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นกลุ่มอาการที่มักพบได้บ่อยในวัยทำงาน ที่ต้องใช้มือและข้อมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้แรงมือมาก งานที่มีแรงสั่น สะเทือนมาที่มือมาก เช่นงานที่ต้องใช้เครื่องจักร เครื่องเจาะ งานที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่าง เช่น ไขควง สว่าน หรือแม้กระทั้งบางครั้ง การทำงานบ้านเองก็มีโอกาสเกิดอาการพังพืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือได้ ลักษณะอาการเด่น ๆ ที่ทำให้สงสัยว่าเป็นโรคนี้ คือ กรณีที่มีอาการดังกล่าว สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ดังนี้ คือ การบริหารแบบที่1 การบริหารแบบที่2 หากทดลองปฏิบัติแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ พบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวด อาการชาที่รุนแรง รบกวนการทำงาน และการดำรงชีวิต แนะนำให้มาพบแพทย์เนื่องจากอาการปวดและชามือนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ควรได้รับการตรวจรักษาที่เหมาะสม ต่อไป ในกรณีที่ความรุนแรงของโรคไม่มากนัก การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (repetitive peripheral magnetic stimulation/rPMS) การใช้อัลตราซาวน์ การบริหารมือที่เหมาะสม การใช้อุปกรณ์ประคองข้อมือ (wrist support) เป็นอีกการรักษาหนึ่งที่สามารถลดอาการปวด ลดการอักเสบของเส้นประสาท ช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ ลดโอกาสในการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ นพ.เฉลิมพล ชีวีวัฒน์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
rPMS เป็นการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก โดยการใช้เครื่องมือที่ผลิตคลื่นแม่เหล็กผ่านหัวคอยล์ สามารถนำไปกระตุ้นเนื้อเยื่อ, ระบบประสาทส่วนปลาย คือ เส้นประสาทรับความรู้สึก เส้นประสาทสั่งการ เส้นประสาทอัตโนมัติ โดยเครื่องมือที่ใช้สามารถให้คลื่นแม่เหล็กลงได้ลึกถึง 10เซนติเมตรจากชั้นผิวหนัง ขึ้นกับความแรงและความถี่ที่ใช้กระตุ้น การกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก ส่งผลต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น เราใช้rPMS ในการรักษาโรคอะไรได้บ้าง ด้วยหลักการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กและกลไกที่ส่งผลต่อร่างกายดังกล่าว เราจึงสามารถนำเครื่อง rPMSมาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น โรคกลุ่มกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เช่น โรคกระดูกหลังเสื่อม เช่น โรคความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคความผิดปกติระบบประสาทส่วนปลาย เช่น โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องในการเสริมความงาม เช่น Body Shaping อีกด้วย เครื่องrPMSสามารถใช้ได้กับทุกคนหรือไม่ ? แม้ว่าเครื่อง rPMS จะสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมายแต่ก็มีข้อห้าม และข้อควรระวัง เช่น เราใช้ระยะเวลาในการรักษานานเท่าใด โดยทั่วไปการรักษาด้วยการกระตุ้น rPMS จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ15-20 นาทีต่อครั้ง โดยการกระตุ้นที่น้อยเกินไปอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และการกระตุ้นที่แรงหรือนานเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการล้า ระบม รวมถึงเป็นตะคริวได้ เนื่องจากการกระตุ้นทำให้เกินการหดตัวของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ ทั้งนี้ขึ้นกับโรคและความเห็นของแพทย์ผู้ให้การรักษา ซึ่งอาจจะสามารถทำการรักษานานกว่า 20 นาทีได้ ความถี่ในการทำนั้น ขึ้นอยู่กับว่าได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอะไร การรักษาอยู่ในระยะไหน เช่น กรณีปวดเรื้อรังอาจทำการรักษาสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง […]
การฝังเข็มDry Needling นั้นมีความแตกต่างจากการฝังเข็มแผนจีน (Traditional Chinese medicine) การฝังเข็มวิธี Dry Needling นั้น เน้นเทคนิคการฝังเข็มไปที่บริเวณกล้ามเนื้อจุดที่มีอาการปวดหรือจุดกระตุ้น(Trigger point) เป็นหลัก และมีการขยับเข็มไปมาหลายทิศทางเพื่อช่วยในการลดปวดคล้ายกล้ามเนื้อ โดยไม่มีการกระตุ้นไฟฟ้าร่วมด้วย ต่างจากการฝังเข็มแบบแพทย์แผนจีนที่มีทั้งการฝังตามแนวเส้นลมปราณ นอกเส้นลมปราณ จุดเจ็บ และอาจมีการกระตุ้นไฟฟ้าร่วมด้วย โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มDry needling คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (myofascial pain syndrome) ซึ่งเรามักรู้จักและเรียกกันว่า ออฟฟิต ซินโดรม โดยกลไกการลดอาการปวดนั้นมีหลายทฤษฎี เช่น เป็นการทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อย บริเวณกล้ามเนื้อที่มีการฝังเข็มทำให้ร่างกายกระตุ้นการซ่อมแซม กระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณที่ฝังเข็มมากขึ้น เป็นต้น หากสงสัยหรือต้องการปรึกษา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call: 0948853339
ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความรวดเร็วของ internetทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป สามารถทำงาน เรียนหนังสือ ซื้อของ ซื้ออาหาร ติดต่อสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์ IT อย่างคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน ทำให้การติดต่อสื่อสาร การสร้างสรรค์ผลงานสามารถทำได้ผ่านทางสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หากเรามีพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวที่ไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม อาจทำให้เราเกิดอาการเจ็บป่วยจากการทำงานตามมาได้ ซึ่งเรามักรู้จัก หรือเรียกกันว่ากลุ่มอาการ Office syndrome กลุ่มอาการ Office syndrome นั้น ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และบางรายอาจมีอาการปวดหลัง ปวดเอวได้ แต่สามารถพบอาการอื่นนอกเหนือจากอาการปวดกล้ามเนื้อได้ เช่น ปวดข้อมือ เอ็นข้อศอกอักเสบ เอ็นข้อมืออักเสบ ผังพืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นต้น ส่วนอาการปวดกล้ามเนื้อจากการก้มใช้โทรศัพท์นาน ๆ บางครั้งก็ใช้ศัพท์เรียกว่า Text neck syndrome ในกรณีที่เริ่มมีอาการปวด จากการทำงาน และสงสัยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ Office syndrome การดูแลตัวเองเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้ คือ กรณีที่ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ปรับสภาพแวดล้อม โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน แล้วไม่ดีขึ้น หรือ อาการปวดรบกวนมากจนเป็นอุปสรรคในการทำงาน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป […]