ปวดหัวบ่อยจัง ทำไงดี ?

เชื่อได้ว่าหลาย ๆ คนต้องเคยประสบกับปัญหาอาการปวดศีรษะ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ซึ่งส่วนมากรับประทานยาลดปวดก็มักจะดีขึ้น

แต่คงมีอีกไม่น้อยที่พบว่าอาการปวดศีรษะแต่ละครั้งเมื่อเป็นแล้วมีอาการรุนแรงจนรบกวนการทำงาน การดำรงชีวิต หรือมีอาการปวดศีรษะเป็นซ้ำบ่อย ๆ จนรบกวนคุณภาพชีวิต

อาการปวดศีรษะนั้นเป็นปัญหาที่พบบ่อยอย่างหนึ่งในคนทั่วไป และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาล ดังนั้นการวินิจฉัยสาเหตุที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญในการวางแผนและให้การรักษา

อาการปวดศีรษะส่วนมากมักเป็นอาการปวดที่ไม่พบพยาธิสภาพ หรือรอยโรคในสมอง ส่วนน้อยจะพบว่ามีโรคของสมองร่วมด้วย เช่น เส้นเลือดในสมองแตก, ก้อนในสมอง เป็นต้น

อาการปวดศีรษะชนิดแรกที่ไม่พบรอยโรคในสมองนั้น โรคที่เราพบได้บ่อย ๆ คือ อาการปวดศีรษะไมเกรน (Migrain)และอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียด(Tension type headache)

ไมเกรน(Migrain)

         เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้บ่อยในช่วงอายุประมาณ 25-55 ปี แต่ก็สามารถพบในช่วงอายุอื่นได้

         อาการปวดชนิดนี้ส่วนมากเกิดจากเนื้อสมองถูกกระตุ้นได้ง่าย ทำให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทไปกระตุ้นการควบคุมหลอดเลือดและปฏิกิริยาการอักเสบ เมื่อได้รับการกระตุ้นแล้วทำให้เส้นเลือดในเยื้อหุ้มสมองมีการขยายตัว ร่วมกับการอักเสบไปกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดในหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

         อาการปวดศีรษะไมเกรนมีพบใน 2 ลักษณะคือ

แบบที่มีอาการนำ(Aura)  เป็นแบบที่ให้การวินิจฉัยง่ายกว่าเนื่องจากมีอาการนำ และอาการที่ชัดเจน โดยส่วนใหญ่อาการนำดังกล่าวจะเป็นอาการทางตา เช่น เห็นแสง เห็นภาพเบลอ กลัวแสง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาการทางหู การรับความรู้สึก การเคลื่อนไหว การพูดได้แต่พบได้น้อย

แบบที่ไม่มีอาการนำ

อาการปวดมักเป็นลักษณะ

ปวดศีรษะข้างเดียว แต่พบว่าอาจปวดทั้งศีรษะได้แต่จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวนำมาก่อน

ลักษณะอาการปวดเป็นแบบตุ๊บ ๆ เหมือนจังหวะการเต้นของหัวใจ

ความรุนแรงของอาการปวดระดับกลางจนถึงมาก

การใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปก็สามารถกระตุ้นให้มีอาการปวดศีรษะได้

โดยเราอาจพบว่ามีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยนอกจากการปวดศีรษะได้ เช่น รู้สึกเพลีย ล้า คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อารมณ์เปลี่ยนแปลง

โดยตัวกระตุ้นมีได้หลายอย่าง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ อาหารบางอย่าง ยาบางอย่าง คาเฟอีนในกาแฟ แสงจ้า เสียงดัง การนอนไม่พบ สภาพอาการ ภาวะเครียด ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนในเพศหญิง และอาจมีปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ร่วมด้วย

การรักษา

เป้าหมายของการรักษาเพื่อลดอาการและความรุนแรงของอาการปวด และป้องกันหรือลดการกลับมาเป็นซ้ำ

โดยการรักษาในระยะที่มีอาการปวดเน้นการลดความรุนแรง ลดอาการปวด

ในผู้ที่มีอาการซ้ำบ่อย ๆ เมื่อรักษาควบคุมอาการปวดศีรษะได้แล้ว อาจพิจารณาทานยาช่วยป้องกันอาการปวดศีรษะซ้ำ

การรักษาอื่นที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้เช่น

การฉีดยาBotox

การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็ก(rPMS)

นอกจากนี้การสังเกตตัวกระตุ้นอาการปวดและหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นเพื่อป้องกันการปวดศีรษะซ้ำก็สำคัญ

การปวดศีรษะจากความตึงเครียด(Tension type headache)

อาการปวดศีรษะชนิดนี้ก็สามารถพบได้บ่อยเช่นกัน โดยมีปัจจัยกระตุ้น เช่น การอดนอน ภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า การได้ยาลดปวดบางชนิดมากเกินไป เป็นต้น

โดยลักษณะอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดมักเป็นแบบ

ปวดเหมือนมีอะไรมาบีบรัดศีรษะ ไม่มีลักษณะเต้นตุ๊บ ๆ 

ความรุนแรงของอาการปวดระดับน้อยถึงกลาง

มักมีอาการปวดทั้งศีรษะ ไม่เป็นข้างใดข้างหนึ่ง

ไม่ถูกกระตุ้นให้มีอาการด้วยการใช้ชีวิต หรือการทำกิจกรรมที่เคยทำอยู่แล้วเป็นประจำ

การรักษา

หลักในการรักษาก็เช่นเดียวกับปวดศีรษะไมเกรน โดยการลดปวดในระยะที่มีอาการ ซึ่งสามารถใช้ยาช่วยลดปวด และการรักษาด้วยการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก(rPMS) ได้เช่นเดียวกับปวดศีรษะไม่เกรน และป้องกันการปวดศีรษะซ้ำโดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่นภาวะเครียด นอนน้อย เป็นต้น ส่วนการใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำนั้นยังไม่จำเป็นและไม่แนะนำให้ใช้ ยกเว้นผู้ป่วยมีอาการเป็นซ้ำบ่อย ๆ 

จะเห็นได้ว่าทางเลือกที่ใช้ในการรักษาลดอาการปวดอย่างหนึ่งคือ การกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก (rPMS)ดังนั้นการใช้การกระตุ้นแม่เหล็กจึงมีประโยชน์ ช่วยลดอาการปวดทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเร็วขึ้น

ทางสบายดีคลินิกเวชกรรมมีบริการด้านการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก หากสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมหรือนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

Call: 0948853339

ประกาศความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้และมีการบันทึกข้อมูลของคุณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ โปรดคลิก “ACCEPT” เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โดย สบายดีคลินิกเวชกรรม กรุงเทพฯ