การรักษาด้วยการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กระบบประสาทส่วนปลาย(Repetitive Peripheral Magnetic stimulation/rPMS) คืออะไร

         rPMS เป็นการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก โดยการใช้เครื่องมือที่ผลิตคลื่นแม่เหล็กผ่านหัวคอยล์ สามารถนำไปกระตุ้นเนื้อเยื่อ, ระบบประสาทส่วนปลาย คือ เส้นประสาทรับความรู้สึก เส้นประสาทสั่งการ เส้นประสาทอัตโนมัติ โดยเครื่องมือที่ใช้สามารถให้คลื่นแม่เหล็กลงได้ลึกถึง 10เซนติเมตรจากชั้นผิวหนัง ขึ้นกับความแรงและความถี่ที่ใช้กระตุ้น

         การกระตุ้นคลื่นแม่เหล็ก ส่งผลต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น 

  • กระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง มีผลให้มีการปรับการทำงานของระบบประสาททั้งที่ เส้นประสาทส่วนปลาย และไขสันหลัง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนของระบบประสาท (Neuroplasticity)มีผลต่อการฟื้นฟูของระบบประสาท
  • เกิดการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ถูกกระตุ้นเป็นจังหวะ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยควบคุมการไหลเวียนเลือด กระตุ้นการซ่อมแซมเส้นประสาท และเนื้อเยื่อที่มีการบาดเจ็บ ช่วยในการลดปวด ลดบวม

เราใช้rPMS ในการรักษาโรคอะไรได้บ้าง

         ด้วยหลักการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กและกลไกที่ส่งผลต่อร่างกายดังกล่าว เราจึงสามารถนำเครื่อง rPMSมาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น

โรคกลุ่มกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เช่น

  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด
  • อาการปวดจากความเสื่อมของข้อ เช่น เข่าเสื่อม
  • ปวดจากไหล่ติด
  • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

โรคกระดูกหลังเสื่อม เช่น

  • อาการปวดหลัง/เอว ทั้งระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง
  • อาการกระดูกหลังเสื่อม
  • หมอนรองกระดูกทับรากประสาท, กระดูกเสื่อมทับรากประสาท

โรคความผิดปกติของระบบประสาท เช่น

  • การบกพร่องทางการเคลื่อนไหวจาก โรคหลอดเลือดสมอง, การบาดเจ็บที่สมอง, การบาดเจ็บไขสันหลัง เป็นต้น แต่ในกรณีเป็นโรคที่มีพยาธิสภาพที่สมอง การรักษาด้วยการกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กผ่านสมอง (Transcranial Magnetic stimulation/TMS)จะนิยมใช้ในการกระตุ้นการฟื้นฟูของระบบประสาทมากกว่าการใช้ rPMSและควรทำควรคู่ไปกับการรักษาทางขบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูเสมอ
  • ภาวะกลืนลำบาก โดยการใช้ rPMSกระตุ้นกล้ามเนื้อกลุ่มการกลืน
  • อาการปวดศีรษะ เช่น ปวดศีรษะไมเกรน ปวดศีรษะจากความตึงเครียด (Tension Headache)

โรคความผิดปกติระบบประสาทส่วนปลาย เช่น

  • อาการชาจากเส้นประสาทเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • การบาดเจ็บเส้นประสาท ส่วนปลาย เช่น พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ, การได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาทโดยตรง
  • โรค Bell’s Palsy มีการอักเสบเส้นประสาทที่ใบหน้า ทำให้หน้าเบี้ยว

โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธ์

  • การกลั่นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ(Urinary incontinence)
  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(Sexual dysfunction)

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องในการเสริมความงาม เช่น Body Shaping อีกด้วย

เครื่องrPMSสามารถใช้ได้กับทุกคนหรือไม่ ?

แม้ว่าเครื่อง rPMS จะสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมายแต่ก็มีข้อห้าม และข้อควรระวัง เช่น 

  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ(Cardiac pacemake)
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคสมองที่ผ่าตัดใส่คลิป หรือ shunts
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยใส่cochlear implants)
  • ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดใส่เหล็ก เช่น ข้อสะโพกเทียม เป็นต้น

เราใช้ระยะเวลาในการรักษานานเท่าใด

โดยทั่วไปการรักษาด้วยการกระตุ้น rPMS จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ15-20 นาทีต่อครั้ง โดยการกระตุ้นที่น้อยเกินไปอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และการกระตุ้นที่แรงหรือนานเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการล้า ระบม รวมถึงเป็นตะคริวได้ เนื่องจากการกระตุ้นทำให้เกินการหดตัวของกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ

ทั้งนี้ขึ้นกับโรคและความเห็นของแพทย์ผู้ให้การรักษา ซึ่งอาจจะสามารถทำการรักษานานกว่า 20 นาทีได้

ความถี่ในการทำนั้น ขึ้นอยู่กับว่าได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอะไร การรักษาอยู่ในระยะไหน เช่น กรณีปวดเรื้อรังอาจทำการรักษาสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือบางกรณี อย่างเช่น การลดปวดจากการบาดเจ็บในระยะเฉียบพลัน อาจสามารถทำการรักษาต่อเนื่องวันละ 1ครั้งได้ ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา

ข้อดีของการรักษาด้วยrPMS

  • เป็นเครื่องมือที่ไม่invasive
  • สามารถลดอาการปวดได้ทันทีหลังทำ
  • สามารถใช้ได้ในทุกระยะของการปวด การบาดเจ็บ ตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน ไปจนถึงระยะเรื้อรัง
  • ใช้เวลาในการรักษาแต่ละครั้งสั้น (ประมาณ 20นาที)
  • มีประสิทธิภาพในการลดปวดได้ดี ทำให้คอร์สในการรักษาสั้น ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงาน และใช้ชีวิตตามปกติ ได้เร็วขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ทางสบายดีคลินิกเวชกรรม มีบริการให้การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กที่ระบบประสาทส่วนปลาย หรือ rPMS หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

เบอร์โทร0948853339

ประกาศความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้และมีการบันทึกข้อมูลของคุณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ โปรดคลิก “ACCEPT” เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โดย สบายดีคลินิกเวชกรรม กรุงเทพฯ