กลุ่มอาการออฟฟิต ซินโดรม

ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความรวดเร็วของ internetทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป สามารถทำงาน เรียนหนังสือ ซื้อของ ซื้ออาหาร ติดต่อสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์ IT อย่างคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน ทำให้การติดต่อสื่อสาร การสร้างสรรค์ผลงานสามารถทำได้ผ่านทางสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค

หากเรามีพฤติกรรมการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวที่ไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม อาจทำให้เราเกิดอาการเจ็บป่วยจากการทำงานตามมาได้ ซึ่งเรามักรู้จัก หรือเรียกกันว่ากลุ่มอาการ Office syndrome 

         กลุ่มอาการ Office syndrome นั้น ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ คอ บ่า ไหล่ สะบัก และบางรายอาจมีอาการปวดหลัง ปวดเอวได้

         แต่สามารถพบอาการอื่นนอกเหนือจากอาการปวดกล้ามเนื้อได้ เช่น ปวดข้อมือ เอ็นข้อศอกอักเสบ เอ็นข้อมืออักเสบ ผังพืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นต้น

         ส่วนอาการปวดกล้ามเนื้อจากการก้มใช้โทรศัพท์นาน ๆ บางครั้งก็ใช้ศัพท์เรียกว่า Text neck syndrome

         ในกรณีที่เริ่มมีอาการปวด จากการทำงาน และสงสัยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ Office syndrome การดูแลตัวเองเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้ คือ 

  • การปรับสภาพแวดล้อม และที่ทำงานให้เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์
  • การจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ ของที่จำเป็นต้องใช้ จัดให้อยู่ในระยะเอื้อมของมือทั้งสองข้าง
    • โต๊ะ และเก้าอี้ทำงานมีความสูงพอดี เก้าอี้ทำงานปรับระดับให้เหมาะสมได้ และอาจมีที่ดันหลังเพื่อให้หลังอยู่ในท่าธรรมชาติมากที่สุดระหว่างนั่งทำงาน
    • ปรับจอมอนิเตอร์ให้อยู่ระยะที่เหมาะสม ไม่ไกล หรือใกล้สายตาเกินไป ขอบบนของจออยู่ในระดับสายตาพอดี หน้าจอเอียงรับระดับสายตาประมาณ 7 องศา
    • โต๊ะทำงานมีชั้นแยกสำหรับวางแป้นพิมพ์และเมาส์ ในกรณีที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้แป้นพิมพ์ได้อย่างสบายไม่ต้องเกร็งหรือยกไหล่
    • แสงสว่างที่โต๊ะทำงานเหมาะสม เพื่อลดการเพ่งของดวงตา
  • การปรับพฤติกรรมการทำงานให้เหมาะสม
  • ท่านั่งที่เหมาะสม ตัวตรงไม่เอียงไปด้านใด ด้านหนึ่ง เท้าสองข้างวางแนบพื้น เข่า สะโพกศอกงอประมาณ 90 องศา หัวไหล่ผ่อนคลาย
    • มีช่วงพักเบรกเป็นระยะ ควรพักอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อพักสายตา ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ รวมทั้งพักยืดกล้ามเนื้อด้วยตนเองเป็นระยะ ๆ

กรณีที่ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ปรับสภาพแวดล้อม โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน แล้วไม่ดีขึ้น หรือ อาการปวดรบกวนมากจนเป็นอุปสรรคในการทำงาน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป เช่น

  • การรักษาด้วยยา เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคล้ายกล้ามเนื้อ ยานวดลดปวด เป็นต้น
  • การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น
    • การใช้เครื่องมือทางกายภาพ การลดปวดด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ การลดปวดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (repetitive peripheral magnetic stimulation, rPMS)
    • การยืดกล้ามเนื้อ 
    • การฝั่งเข็มลดปวดคลายกล้ามเนื้อ(Dry needling)
  • การรักษาทางเลือกอื่น ๆ เช่น นวดแผนไทย การนวดประคบ เป็นต้น

หากท่านใดประสบปัญหา ปวดจากกลุ่มอาการ Office syndrome และได้ลองรักษาดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้ว ยังคงมีอาการปวดที่รบกวน สบายดีคลินิกเวชกรรม ยินดีให้คำปรึกษา ดูแลรักษา เพื่อช่วยลดอาการปวด ช่วยให้สามารถทำงาน และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

นพ.เฉลิมพล ชีวีวัฒน์

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

สบายดีคลินิกเวชกรรม

ประกาศความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้และมีการบันทึกข้อมูลของคุณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ โปรดคลิก “ACCEPT” เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โดย สบายดีคลินิกเวชกรรม กรุงเทพฯ